วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รูปแอดมิน

รูปแอดมิน




นายพงศกร  ชาวราษฎร์ ม.6/1 เลขที่ 20

วีดีโอแนะนำวัดถ้ำเขาโบสถ์

วีดีโอแนะนำวัดถ้ำเขาโบสถ์

ทัศนียภาพบริเวณวัดถ้ำเขาโบสถ์

ทัศนียภาพบริเวณวัดถ้ำเขาโบสถ์


         วัดถ้ำเขาโบสถ์มีพื้นที่บริเวณชนบท อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม เต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่จำนวนมาก มีสระน้ำอยู่ทางด้านหลังวัด จุดเด่นสำคัญคือ ภูเขาหินปูนสูงสง่าสะดุดตาขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยลวดลายที่แกะสลัก สร้างสรรค์โดยลมและฝน เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ จะเห็นปากทางเข้าถ้ำอยู่สูงลาดขึ้นไปบนหน้าผาด้านหน้าอย่างมีเสน่ห์ ดึงดูดใจ ภายในมีน้ำค่อยๆหยดลงมาจากเพดาลถ้ำ ซึ่งทำให้เกิดหินงอก หินย้อย โพรงต่างๆมากมายและอื่นๆ ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา เป็นศาสนสถานที่สงบ ร่มรื่น ร่มเย็นเหมาะแก่การท่องเที่ยว ศึกษาธรรมชาติ ไหว้พระ และปฏิบัติธรรม 

ภูเขาหินปูนที่สง่างามน่าเกรงขาม

ทางเดินเข้ามีลักษณะคดเคียวลาดชัน

ในถ้ำมีเชือกและบันไดไม้เก่าๆ คล้ายเคยถูกสำรวจ

โพรงถ้ำขนาดมหึมา

หินงอกหินย้อยและเสาหินขนาดใหญ่

ปากถ้ำขนาดสูง

ภายในถ้ำสามารถไหว้พระทำบุญ

พระพุทธรูปขนาดเล็กบนผนังถ้ำ

เป็นสถานที่สวยงามเหมาะแก่การถ่ายรูป

พระพุทธรูปที่สันนิษฐานว่า สร้างมาแล้วมากกว่า 40 ปี

แสงแดดส่องสะท้อนเพดาลถ้ำ

พระสงฆ์ปฏิบัติธรรมอยู่บนหิน

บนเขาเต็มไปด้วยพรรณไม้ขนาดใหญ่




การเกิดถ้ำ

การเกิดถ้ำ


       

         ถ้ำ คืออุโมงค์ขนาดใหญ่ มักพบในหินปูน (limestone) ในอดีตเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ถ้ำ เกิดจากน้ำฝนและธารน้ำใติดินไปทำละลายหินปูนให้เกิดเป็นโพรงและขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเป็นถ้ำ ใช้เวลานานหลายล้านปีถ้ำที่อยู่สูงจะเกิดก่อน หินปูน เป็นหินตะกอน เกิดในทะเล ต่อมายกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขา มักเกิดร่วมกับหินดินดาล (shale) หินปูน มีส่วนประกอบทางเคมีคือ CaCO3 เมื่อหยดน้ำกรดลงบนหินปูน ๆ จะละลาย,มีฟอง,มีควันและมีกลิ่นคัดจมูก หินปูน เมื่อถูกยกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขา จะเกิดการบิดตัว,โค้งงอและแตกหัก เมื่อผุกร่อนจะแปรสภาพเป็นดินตะกอนเช่นเดียวกับหินดินดาล เมื่อดินตะกอนถูกน้ำชะล้างออกไป ทำให้เกิดโพรงหรือถ้ำในเวลาต่อมา หินปูน ที่ยกตัวขึ้นจากทะเลเป็นเทือกเขาสูง เกิดจากอิทธิพลของ

         (1) การยกตัวของเปลือกโลก(plate technic)

         (2) มีหินละลายร้อนใต้ภิภพ (magma)

ดันตัวขึ้นมาสู่เปลือกโลก หินปูน ผลจากการยกตัว จะทำให้หินปูนแตกหัก บิดตัว โก่งตัว หรือโค้งงออย่างมีระบบตามแรงที่มากระทำ หรืออาจไม่มีระบบ ถ้าแรงที่มากระทำเกิดขึ้นหลายครั้ง หลายๆทิศทาง และหลายๆขนาด และอาจเกิดหลายๆ ยุคก็ได้ หินปูน การพบ andesite dike แทรกตัวในเนื้อหินปูนและหินดินดาล เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า มีหินหลอมละลายใต้พิภพดันตัวหรือแทรกตัวเข้ามา มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อโครงสร้างทางธรณีของหินปูน รวมทั้งการเกิดถ้ำและน้ำบาดาลในเวลาต่อมา
         ถ้ำ ที่มีขนาดใหญ่ ย่อมบ่งบอกถึงน้ำฝนมีปริมาณมากและมีความเป็นกรดสูง อีกทั้งใช้เวลาการเกิดนาน ถ้ำคือ foot print หรือแหล่งบันทึกทางประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาและมนุษย์วิทยา 






วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประวัติและสภาพพื้นที่อำเภอวังจันทร์

       อำเภอวังจันทร์



         อำเภอวังจันทร์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระยอง โดยแยกจากอำเภอแกลง จังหวัดระยอง จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ และได้รับพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็น “อำเภอวังจันทร์” เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอวังจันทร์ อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดต่าง ๆ เช่น ชลบุรี นครปฐม สมุทรปราการ อยุธยา ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต่างกันบ้างก็เฉพาะในเขตตำบลชุมแสงและตำบลป่ายุบใน ที่ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดชลบุรี จึงมีประเพณีของชาวชลบุรี คือประเพณีวิ่งควายในเดือนพฤศจิกายนหลังออกพรรษา การตั้งถิ่นฐานของ ชาวบ้าน เริ่มมีขึ้นในเขตตำบลวังจันทร์ ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอแกลง โดยที่บ้าน วังจันทร์ เดิมเป็น หมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่ที่ ๔ ตำบลกระแสร์บน อำเภอแกลง การเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านวังจันทร์” นั้นเป็นเพราะในบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้มีห้วงน้ำ ซึ่งตามภาษาท้องถิ่นของหมู่บ้านเรียกว่า “วัง” และมีต้นจันทน์(ต้นไม้จันทน์)ขึ้นอยู่ในบริเวณห้วงน้ำแห่งนั้นด้วย ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านวังจันทน์”

ต้นไม้จันทน์

         และจากการที่มีราษฎรจากจังหวัดชลบุรีเข้ามาตัดไม้ในเขตพื้นที่ป่าสัมปทาน ซึ่งต่อมาพื้นที่ป่าแห่งนี้ได้หมดสภาพลง จึงมีการอพยพประชากรจากจังหวัดชลบุรี มาตั้งบ้านเรือนหักล้างถางพงทั้งในเขตป่าสงวนและป่าเสื่อมโทรมประกอบกับมีการนำประชากรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมารับจ้างแรงงาน ซึ่งต่อมาก็มีประชากรจากท้องถิ่นอพยพมาอาศัยทำมาหากินมากขึ้น จนกลายเป็นชุมชนหนาแน่น จึงได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ คือ หมู่ที่ ๗ ตำบลกระแสร์บน เมื่อปี ๒๕๑๒ และต่อมาในปี ๒๕๑๖ ได้แบ่งพื้นที่ตำบลกระแสร์บนเพิ่มอีก ๒ ตำบล คือ ตำบลวังจันทร์ และตำบลชุมแสง ซึ่งต่อมาได้แบ่งพื้นที่ตำบลวังจันทร์เพิ่มขึ้นเป็นตำบลพลงตาเอี่ยม ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอแกลงจะมีประชากรพื้นบ้าน ของอำเภอแกลงอพยพเข้ามา ในส่วนนี้จะปลูกผลไม้ยืนต้นเป็นเขตแรกของอำเภอ เช่น ทุเรียน มังคุด ส้ม ขนุน ฯลฯ ส่วนตำบลชุมแสง และตำบลป่ายุบใน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดชลบุรี จะมีการปลูกอ้อย ยางพารา และสับปะรด กันมาก
รูปภาพสภาพพื้นที่ของอำเภอวังจันทร์



อ้างอิง : http://www.amphoe.com/menu.php?am=524&pv=48&mid=1

แผนที่ของวัดถ้ำเขาโบสถ์